
แม้การกินยาจะเป็นวิธีสำคัญที่ช่วยให้หายจากอาการต่างๆ ของโรคได้ กระนั้นไมได้หมายความว่ายาทุกชนิดเมื่อซื้อมากินแล้วหรือเมื่อแพทย์จ่ายมาให้แล้วจะสามารถอยู่ไปได้ตลอดจนกว่าจะกินหมด เพราะยาเองก็เหมือนกับสิ่งต่างๆ ทั่วไปที่มีวันหมดอายุเช่นกัน การรู้จักวิธีตรวจสอบยาหมดอายุก่อนใช้งานจึงเป็นเรื่องสำคัญมากไม่อย่างนั้นแทนที่จะรักษาโรคให้หายกลับเพิ่มโรคกับร่างกายยิ่งกว่าเดิม เป็นอันตรายมากทีเดียวสำหรับคนที่ไม่รู้
วิธีตรวจสอบยาหมดอายุก่อนใช้งาน
อย่างที่กล่าวเอาไว้ว่ายาทุกตัวถือว่ามีอายุการใช้งานของมัน เมื่อไหร่ก็ตามที่ไม่ได้กินยาตัวนั้นนานมากแล้วพอมีอาการป่วยจะหยิบมากินอีกสำคัญเลยต้องรู้จักตรวจสอบให้ดีว่ายาดังกล่าวหมดอายุหรือยัง หากไม่แน่ใจให้ทิ้งแล้วซื้อใหม่ดีกว่า เพราะยาที่หมดอายุแล้วนอกจากประโยชน์ที่ลดลงตามระยะเวลาที่ผ่านเลยไปยังอาจก่อให้เกิดอันตรายกับร่างกายในแบบที่เราคาดไม่ถึงได้
วิธีสังเกตว่ายาที่จะกินหมดอายุหรือยังให้เริ่มต้นจากการดูระบุวันผลิตและวันหมดอายุที่ฉลากของยานั้นๆ จะต้องระบุเอาไว้ชัดเจน ส่วนใหญ่จะระบุเป็นภาษาอังกฤษ วันผลิตจะใช้คำว่า Manu. Date หรือ Mfg. Date แล้วก็ใส่วันเดือนปีที่ผลิตลงไป ขณะที่วันหมดอายุใช้คำว่า Expiry Date, Exp. Date, Used before, Expiring, Used by คำใดคำหนึ่งจากนั้นตามด้วยวันเดือนปี เช่น Exp. Date 30/5/19 หมายถึง ยาตัวนี้จะหมดอายุการใช้งานในวันที่ 30 พฤษภาคม 2019 นั่นเอง
คราวนี้มีหลายๆ คนตั้งข้อสงสัยขึ้นมาเพิ่มเติมอีกว่ายาบางตัวที่ฉลากก็มีแค่วันผลิตอย่างเดียว ไม่ได้มีการบอกว่าหมดอายุเมื่อไหร่ ให้จำรายละเอียดตรงนี้ไว้เลยคือ ยาน้ำหากเห็นแค่วันผลิตแต่ยานั้นยังไม่ถูกใช้งานจะเก็บไว้ได้ราว 3 ปี ตั้งแต่วันที่ทำการผลิต แต่ถ้ายาชนิดนั้นได้เปิดใช้งานเรียบร้อยแล้ว เช่น ถ้าเป็นยาน้ำเมื่อเปิดกินแล้วผ่านการปนเปื้อนอย่างน้ำลายก็อาจอยู่ได้แค่ไม่กี่วัน แต่ถ้าไม่มีการปนเปื้อนใดก็อยู่ในตู้เย็นได้ราว 3 เดือน ส่วนยาเม็ดจะเก็บเอาไว้ได้นาน 5 ปี นับจากวันที่ผลิต
การดูยาหมดอายุไม่ใช่เรื่องยาก ทุกคนสามารถทำได้หมด แต่สิ่งที่ง่ายยิ่งกว่าคือเมื่อใดก็ตามหากหยิบยาเก่ามาใช้งานต้องนึกให้ออกก่อนว่าเราเคยใช้ยาตัวนี้มานานมากหรือยัง หากไม่ชัวร์ก็ทิ้งไปแล้วซื้อใหม่จะทำให้เกิดความมั่นใจมากกว่า เมื่อกินเข้าไปแล้วสามารถรักษาอาการของโรคได้โดยตรง ไม่เสี่ยงต่อสุขภาพในอนาคตด้วยเมื่อเลือกกินยาใหม่